ประวัติผ้าบาติก


ประวัติผ้าบาติก

   ผ้าบาติก (Batik) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าผ้าปาเต๊ะเป็นภาษาที่ชาวอินโดนีเซียหรือชวาใช้ เรียกชื่อผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่เกิดจากการใช้ฝีมือเขียนให้เกิดลวดลายและ การย้อมสีบนผืนผ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ตามประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าการผลิตผ้าชนิดนี้มีมากว่า 2000 ปีล่วงมาแล้ว
ถิ่นกำเนิดเริ่มมาจากประเทศอินโดนีเซียและแผ่ขยายไปยังประเทศอินเดีย มาเลเซีย ปากีสถาน ญี่ปุ่น อังกฤษ และอเมริกา สำหรับประเทศไทยตามหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าคงรับเอาอิทธิพลและวัฒนธรรมมา จากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เห็นได้จากทางจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการทำผ้าบาติกกันอย่างมากมายเป็น อุตสาหกรรมในครอบครัว สร้างรายได้ที่ดีให้กับชาวบ้าน และยังเป็นสินค้าพื้นเมืองประจำท้องถิ่นที่ส่งออกไปขายตามแหล่งต่าง ๆ มากมายทั้งภายในและต่างประเทศ

    ลักษณะเด่นของผ้าบาติก สีและลวดลายอันคมชัดของภาพที่ปรากฏให้เห็นบนผืนผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ปลอกหมอน เสื้อผ้า เน็คไท ภาพประดับฝาผนัง ฯลฯ เกิดขึ้นจากการเขียนลวดลายตามที่ผู้ผลิตต้องการลงบนผืนผ้าด้วยดินสอแล้วใช้ ปากกาเขียนเทียนช้านติ้ง (Tjanting) จุ่มน้ำเทียนเขียนไปตามลวดลายเพื่อให้น้ำเทียนนี้เป็นแนวป้องกันน้ำสีไม่ให้ ซึมผ่านถึงกัน น้ำเทียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องซึมผ่านทะลุทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผืน ผ้าบาติกโดยไม่ให้เกิดช่องว่างขึ้นจากนั้นจึงทำให้เกิดลวดลาย โดยวิธีการเพ้นท์สีหรือย้อมสีตามแต่กรณีสีบนผืนผ้าจะต้องซึมผ่านทั้งด้าน หน้าและด้านหลังซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของผ้าบาติก



    การย้อมสี การเขียน ลวดลายให้ปรากฏบนผ้าชิ้นงานคล้ายคลึงกับการทำผ้าเพ้นท์ แตกต่างกันเพียงส่วนผสมของน้ำเทียนและขี้ผึ้ง การเพ้นท์สีจะใช้ขี้ผึ้งล้วน แต่สำหรับการย้อมสีใช้น้ำเทียนที่ได้จากขี้ผึ้ง 1 ส่วนผสมกับเทียนไข 8 ส่วน ต้มให้ละลายแล้วใช้ปากกาช้านติ้งจุ่มหรือตักน้ำเทียนเพื่อเขียนลวดลายลงบน ผืนผ้าชิ้นงานปล่อยให้แห้งสนิท แล้วแช่ผ้านี้ในน้ำเย็นที่สะอาดประมาณ 5 นาที เพื่อให้ผ้าเปียกน้ำตลอดทั้งผืนแล้วจึงนำไปย้อมสี



วัตถุดิบและอุปกรณ์


1.ผ้ามัสลิน ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย














2.กรอบไม้บาติก









3.เทียนขี้ผึ้งผสมพาราฟินสำเร็จ









4.ปากกาเดินเทียน (จันติ้ง) เลือกเบอร์๐ หรือ เบอร์ 2









5.ลายผ้าบาติก ดินสอ 6 B








6.โซเดียมซิลิเกท ( เคลือบสี )













7.สีบาติก









8.แปรงทาสีขนาด 1 นิ้ว












9.เตาไฟฟ้า







10.หม้อเคลือบทนความร้อนสูง














11.หม้อต้มน้ำ








12.ตะเกียบ




13.พู่กัน เบอร์ 4,6,12










 









ขั้นตอนการทำผ้าบาติก
1.นำลวดลายที่ออกแบบจากโปรแกรมGSP   มาวาดลวดลายบนกระดาษด้วยดินสอ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงใช้ปากกาเมจิกสีดำลากเส้นตามรอยดินสอเพื่อให้ลวด ลายชัดเจนขึ้น


2. นำเทียนที่เขียนบาติกซึ่งหลอมละลายให้เหลวแล้วมาทาลงขอบเฟรม โดยใช้แปรงจุ่มเทียนแล้วนำมาทาลงบนขอบเฟรมให้ทั่วทั้ง 4 ด้าน ระวังอย่าให้หนาเกินไปเพราะจะทำให้ผ้าหลุดรนได้ง่าย หลังจากนั้นจึงนำผ้าไปติดบนเฟรมโดยใช้วัสดุหรือของแข็งหน้าเรียบ เช่น ก้นขวด เหรียญ กุญแจ กดลงบนขอบเฟรมและถูเบา ๆ ทีละด้านทั้ง 4 ด้านของกรอบเฟรม


3. นำลายที่เตรียมไว้สอดไว้ใต้เฟรมผ้าที่ขึงตึงเพื่อทำการลอกลายลงบนผ้าด้วย ดินสอ 2 Bขึ้นไป

4. ใช้จันติ้งตักน้ำเทียนที่มีอุณหภูมิพอเหมาะโดยตักน้ำเทียนเททิ้ง 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิของจันติ้งแล้วจึงทดลองเขียนบนเศษผ้าดูก่อนเพื่อ ให้แน่ใจว่าเส้นเทียนได้ขนาดตามต้องการ ซึ่งเส้นเทียนไม่ควรใหญ่เกิน 2 – 3 ม.ม.แล้วจึงเริ่มเขียนจริงโดยเริ่มเขียนเป็นสี่ เหลี่ยมขอบกรอบรอบนอกก่อนเพื่อกันสีลามไปที่กรอบไม้ ถึงจะเขียนตามลวดลายที่ลอกไว้ลากช้าๆ ระวังอย่าให้เส้นเทียนขาดตอนเพราะจะทำให้เวลาที่ลงสีสีจะรั่วเข้าหากัน สีจะเน่าไม่สวยและจำเป็นจะต้องใช้กระดาษทิชชูซับน้ำเทียนบริเวณรอบนอกตัว ปากกาเขียนเทียนทุกครั้งเพื่อมิให้เทียนหยดลงบนชิ้นงาน
5. ลงสีที่ต้องการลงในลาย คล้ายเป็นการระบายสีลงในช่องว่างด้วยพู่กัน โดยให้น้ำหนักสีอ่อนแก่เพื่อเกิดเป็นระดับ ซึ่งวิธีระบายสีอ่อนก่อนแล้วใช้สีกลางและเน้นด้วยสีเข้มจะเกิดเป็นแสงเงาสวย งาม ถ้าต้องการให้มีความพลิ้วหวานก็ให้ใช้น้ำเปล่าระบายเฉพาะส่วนที่ต้องการให้ สีอ่อนแล้วแต้มสีเข้มเกลี่ยสีเข้าหากันจนทำให้เกิดแสงเงามีน้ำหนักอ่อน - เข้ม และดูมีความชัดลึก สวยงาม แล้วรอจนสีแห้งสนิท
6. นำผ้าที่ระบายสีและแห้งสนิทเคลือบโซเดียมซิลิเกตเพื่อเป็นการกัน สีตกมี 2 วิธี คือ การเคลือบโดยการจุ่มลงไปในถังน้ำยา โดยกดจมให้น้ำยาเปียกทั่วทั้งผืน แล้วยกมาพาดขึ้นปากถังเพื่อให้น้ำยาหยดกลับลงไปในถังนำกลับไปใช้ได้อีก และอีกวิธี คือ ใช้แปรงหรือลูกกลิ้งจุ่มน้ำยาแล้วนำมาทาลงบนผ้าที่ขึงอยู่บนเฟรมให้ทั่วทั้ง ผืน วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะกันสีตกได้ดีและชิ้นงานเสียหายน้อย หลังจากนั้นก็ทิ้งไว้ 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีก่อนนำไปล้าง


7. นำผ้ามาล้างน้ำยาเคลือบเพื่อให้เมือกของโซเดียมซิลิเกตหลุดออกไปในภาชนะที่ มีขนาดโตสามารถใส่น้ำได้ในปริมาณที่มากๆ เพราะจะมีสีส่วนเกินหลุดออกมาและจะต้องเปิดน้ำให้ไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา หรือเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ จนกว่าน้ำที่ซักจะใสและหมดลื่นมือจึงหยุดขั้นตอนการซัก คลี่ออกผึ่งอย่าให้เป็นก้อน เพราะสีจะตกใส่กันซึ่งควรล้างทีละผืนจนสะอาดเพื่อให้สีที่หลุดออกไปติดกลับ มาใหม่


8. นำผ้าไปต้มในน้ำเดือดที่ผสมผงซักฟอกหรือสบู่ซันไลต์ ใน ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลอกเอาเส้นเทียนออกจากตัวผ้า โดยใช้มือจับปลายผ้าแล้วจุ่มผ้าลงในน้ำเดือดให้ทั่วทั้งผืน แล้วค่อยๆยกขึ้นลงและผึ่งผ้าออกจนเทียนหลุดออก สลับอีกด้านจุ่มลงทำเหมือนเดิม สังเกตว่าเส้นเทียนหลุดออกหมดหรือยัง ห้ามต้มแช่ไว้นานเป็นอันขาดจะทำให้ผ้าเสียได้

9. นำผ้าใส่ลงในถังซักที่มีน้ำเต็มซักผ้าโดยการจับปลายจุ่มลงเหมือน การลอกเอาเทียนออกเพื่อล้างจนเศษเทียนหลุดจนหมดแล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นสีเข้มควรเช็คดูว่ามีสีตกอยู่หรือไม่ ถ้าตกให้เปลี่ยนน้ำในกะละมังใหม่จนมีส่วนเกินตกจนหมด

10. บิดน้ำออกพอหมาดๆด้วยมือ หรือใช้เครื่องซักผ้าปั่นแล้วนำไปตาก โดยผึ่งออกทั้งผืน ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งวางซ้อนกันและใช้ที่หนีบผ้าหนีบไว้ ส่วนการตากควรตากไว้ในที่ร่มหรือผึ่งแดด เมื่อแห้งแล้วให้รีบเก็บอย่างปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้สีซีดได้ และนำไปรีด ตัดเย็บตามต้องการ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น